Background

For english please scroll down.

สังคมผู้สูงวัย

ใน 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมาโครงสร้างประชากรของโลกเปลี่ยนแปลงไปมากและอย่างรวดเร็ว “ดัชนีการสูงวัย” หรือ Aging Index เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงสภาวะสังคมตามจำนวนประชากรเปรียบเทียบระหว่างจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (60 ปี) และจำนวนประชากรวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี)
ค่าดัชนีการสูงวัยจำแนกสังคมออกเป็น 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

  1. สังคมเยาว์วัย หมายถึง สังคมที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 50
  2. สังคมสูงวัย (aging society) หมายถึง สังคมที่มีค่าดัชนีระหว่าง 50-119.9 เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด
  3. สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (aged society) หมายถึงสังคมที่มีค่าดัชนีระหว่าง 120-199.9 เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด
  4. สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super aged society) หมายถึงสังคมที่ค่าดัชนีตั้งแต่ 200 ขึ้นไป เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย(Aging Society) ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2547-2548 (ค.ศ.2004-2005) คาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ.2567-2568 (ค.ศ. 2024-2025) และจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ.2575 (ค.ศ.2032)

ปัจจุบันนี้มีประเทศราว 50 ประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ หลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในระบบบริหาร ระบบสุขภาพ การศึกษา การจ้างงาน การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาประชากรกลุ่มใหม่นี้ ประเทศหลายประเทศไม่ได้พัฒนาเพียงแค่การรองรับความต้องการทางกายภาพของประชากรสูงวัย แต่รองรับความต้องการทางสังคม จิตใจ และการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีความเคารพและพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคมจนส่งผลให้กลายเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

เมื่อมองการทำงานกับผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยจากมุมมองของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เป็นองค์กรด้านการศึกษาที่สำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย หากก็น่าสนใจว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผู้สูงวัยไม่ค่อยถูกรวมเข้ามา หรือเป็นศูนย์กลางการออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะเดียวกับประชากรวัยเยาว์ เมื่อแนวโน้มประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องรับมือกับประชากรกลุ่มนี้ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ขยายตัวในสัดส่วนที่ไล่ตามประชากรกลุ่มเดิมของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สมควรที่จะพัฒนาเพื่อรองรับผู้ชมที่เป็นผู้สูงวัย ด้วยการสำรวจและทำความเข้าใจอย่างจริงจังในเรื่องชีวภาพ กายภาพ จิตวิทยา พัฒนาการทางสังคมของประชากรกลุ่มสูงวัย พิพิธภัณฑ์ควรจะค้นหาและตระหนักในความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงวัย เพื่อจะหาข้อบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ และอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ หรือกันผู้สูงวัยออกจากการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ในขณะเดียวกันพิพิธภัณฑ์ควรค้นหาวิธีที่จะกระตุ้นให้ผู้สูงวัยเข้าพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้จากนิทรรศการและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ

การดำเนินงานของ สพร.

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในฐานะองค์กรที่ถูกจัดตั้งมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เห็นความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการทำงานกับผู้ชมกลุ่มสูงวัย จึงได้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยมาโดยต่อเนื่อง อาทิ จัดการบรรยายในหัวข้อผู้สูงวัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำนิทรรศการโดยมีผู้สูงวัยเป็นภัณฑารักษ์ร่วม ทั้งนี้ก็เพื่อค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ ในการเรียนรู้และทำงานเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และในปีพ.ศ. 2564 นี้ สพร.ดำเนินโครงการด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย “Far-sighted Museum” ใน 3 ระยะ กล่าวคือ

ระยะแรก เพื่อขยายแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์กับผู้สูงวัยออกไปให้กว้างขึ้น สพร. ได้สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในประเด็นพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย ให้กับพิพิธภัณฑ์และนักวิจัยที่สนใจประเด็นดังกล่าว จำนวน 10 โครงการ เพื่อกระตุ้นให้วงการพิพิธภัณฑ์ตื่นตัวกับเรื่องการทำงานเพื่อสนองกลุ่มคนที่ตามปกติแล้วไม่ได้อยู่ในใจกลางความสนใจของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานในโครงการที่จะเป็นต้นแบบในการพัฒนางานเพื่อผู้สูงวัยต่อไปในอนาคต ในกระบวนการคัดเลือก สพร.ได้จัดให้มีการอบรมออนไลน์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจให้กับผู้เสนอโครงการ มีผู้สนใจส่งข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการถึง 31โครงการ ข้อเสนอมีความหลากหลายและมาจากพิพิธภัณฑ์หลายประเภท ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจขององค์กรพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อประเด็นผู้สูงวัย ว่ามีค่อนข้างมากและหลากหลาย ซึ่งล้วนควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ดำเนินการในฐานะที่พิพิธภัณฑ์เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ระยะที่สอง จัดประชุมวิชาการในประเด็นพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย ในวันที่ 10-12 สิงหาคม 2564 เพื่อสำรวจพรมแดนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงวัยในพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้จากประสบการณ์ของภาคประชาชนที่ทำงานด้านการศึกษาและจัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงความรู้และข้อเสนอที่ได้จากโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ สพร.ให้ทุนสนับสนุนทั้ง 10 โครงการเข้าสู่เวทีการประชุม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนนำความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติการมาต่อยอดในการดำเนินงานเพื่อรองรับสังคมสูงวัยต่อไป

ระยะที่สาม เป็นการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการและโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการจัดพิมพ์หนังสือและเผยแพร่คลิปการบรรยายผ่านสื่อออนไลน์

Aging Society

In the past three to four decades, the structure of world population has largely changed rapidly. According to aging index indicating social situation of the proportion between the senior population (60 years old and older) and the junior population (15 years old and younger), the society is structured into four groups:

  1. The Young Society where the index is lower than 50.
  2. The Aging Society where the index falls between 50 to 119.9. This type of society has population of 60 years old and older for more than 10% of the entire population.
  3. The Aged Society where the index is between 120 to 199.9. It has the population of 60 years old and older for more than 20% of the entire population, or it is the society that has the population of 65 years old and older for more than 14% of the entire population.
  4. The Super-Aged society where the index is from 200 and higher. It has the population of 60 years old and older for more than 28% of the entire population, or it is the society that has the population of 65 years old and older for more than 20% of the entire population.

The National Statistical Office of Thailand indicates that Thailand became an aging society since 2004 to 2005. Predictably, Thailand is going to be an aged society in 2024 to 2025 and a super-aged society in 2032.

Nowadays, there are approximately 50 countries that became aging society. This structural change of population highly affects country’s development. Many countries restructured their systems of administration, healthcare, education, and housing development in order to support the fundamental needs and improvement of these new population. Not only do many countries create improvement to serve physical needs of senior population, but also they create infrastructures to serve social, psychological, and educational needs so that senior population will continuously have better quality of life, maintain self-dignity and self-reliance, as well as not becoming burdensome and eventually left behind.

With respect to aging society in museum’s perspective, museums are an educational organization that is crucial to create lifelong learning for every generation. Still, in comparison to the younger generation, aging population are not well included or does not become the center of museum planning on education programs. Once the population become aging, how museums are going to handle this group of population that are now growing up? Museums ought to be more engaging and serving senior population in many ways. With regard to the museum education, museums should seek and take into account the needs of senior people in order to identify possibilities and barriers that exclude or include senior people. For instance, museums should seek ways to encourage senior people to visit museums, to learn from exhibitions, and to participate in various activities and so on.

The National Discovery Museum Institute (NDMI) and the Aging Society

NDMI are founded to support lifelong education. Considering the improvement of engagement with senior population as a crucial mission, NDMI has created activities into which the senior take part continuously. For example, lectures on issues of senior people; workshops and exhibitions that senior people co-curated with the aim to find novel approaches to learn and work for the sake of aging society. In 2021, NDMI is continuing an academic project on the senior. It is the Farsighted Museum, which divided into three phases as follow:

The first phase, in order to expand the notion of museum and the senior people, NDMI funded 10 projects allowing museums and researchers to carry out action research projects on issues of museums and senior people. This is to motivate various museums to create projects that serve those who are less concerned by museums as well as to support activities that will become a model for the improvement of activities serving the senior in the future. Within the selection process, NDMI arranged online trainings for the selected researchers. 31 applicants applied for the funding. The proposals were varied and submitted by a variety of museums. They illustrate heterogeneity of museums’ interests on senior people.

The second phase, a conference on issues of museums and senior people will take place on September 16 -18, 2021. It aims at reviewing state of knowledge on the senior in the museum and gathering experiences of private sectors that work on education and activity serving senior people. Additionally, this conference seeks to connect knowledge and proposals drawn from the 10 funded action research projects into the conference circle, in order to exchange and bring knowledge both theoretical and practical to enhance activities serving the senior people.

The third phase is to distribute knowledge drawn from the seminar and the action researches by publishing books and broadcasting online the videos recording the seminar lectures.