Issue

For english please scroll down.

พิพิธภัณฑ์สายตายาว (Far-sighted Museum) : แนวคิด และประเด็นการประชุม

“สายตายาว” เป็นภาวะทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ก้าวเข้าสู่สภาวะสูงวัย การประชุมวิชาการในครั้งนี้ หยิบยกคำว่าสายตายาวมาใช้ เพื่อบ่งชี้ว่าเมื่อสังคมกำลังเข้าสู่สภาวะที่ประชากรมีหรือกำลังจะมีภาวะสายตายาว ซึ่งตามดัชนีสูงวัยแล้วก็เปรียบเสมือนการกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ และสังคมสูงวัยระดับสุดยอดตามลำดับ พิพิธภัณฑ์ก็ควรปรับสายตาของตนเองให้มองไกลขึ้น เพื่อรองรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นถึง 20% ของจำนวนประชากร

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพิพิธภัณฑ์บนพื้นฐานของความแตกต่างของภาวะสูงวัย ซึ่งมีตั้งแต่ผู้สูงวัยที่ร่างกายแข็งแรง มีความแอคทีฟทางสังคม ผู้สูงวัยที่มีภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ผู้สูงวัยที่เข้าสู่ช่วงปลายของชีวิต ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ หรือผู้สูงวัยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต การประชุมมิวเซียมสายตายาวจึงเน้นการเปิดพื้นที่ให้นักวิชาการและนักปฏิบัติการทางพิพิธภัณฑ์ได้สามารถสื่อให้สังคมเห็นถึงความหลากหลาย ทั้งในแง่สภาวะสูงวัย การทำงานบนพื้นที่ที่หลากหลาย และวิธีการทำงานที่หลากหลายแนวทางของพิพิธภัณฑ์ โดยงานประชุมมีประเด็นเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ในสังคมผู้สูงอายุที่ต้องการสำรวจดังต่อไปนี้

  1. ความเข้าใจต่างวัฒนธรรมหรือต่างกระบวนทัศน์/Cross-Cultural Understanding
  2. ความเข้าใจข้ามรุ่น/Cross-Generation Understanding
  3. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม/Creativity and Innovation
  4. ดิจิทัลและเทคโนโลยี / Digital and Technology
  5. อารยสถาปัตยกรรม / Universal Design
  6. การพัฒนาศักยภาพสมองและความมั่นคงทางจิตใจ / Brain Potentials and Mental Development
  7. การสร้างความสุขสูงวัยอย่างยั่งยืน / Sustainable Aging Happiness Conceiving
  8. การถ่ายทอดศักยภาพสู่ผู้อื่น / Potentiality Transferring
  9. ความประสงค์ของชีวิต / Last Wishes

อนึ่ง การประชุมให้ความสนใจกับคำสำคัญที่เป็นหัวใจของความยั่งยืนทางสังคม (social sustainability) นั่นคือ intergeneration approach ทั้งนี้ ก็ด้วยความตระหนักว่าผู้สูงวัยในฐานะที่เป็นผู้ที่มาก่อน และอยู่ในบริบททางสังคมที่หลากหลาย ย่อมต้องมีประสบการณ์ มีความรู้ มีบทเรียน มีความหวังต่อสังคม ที่สามารถส่งต่อความรู้ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจไปยังคนรุ่นหลังเพื่อสร้างความต่อเนื่องของความรู้ ให้สังคมไม่ตัดขาดจากกัน เช่นเดียวกัน คนรุ่นหลังก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างที่คนรุ่นก่อนอาจจะไม่ชำนาญเท่า เช่น ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัล ทักษะการผลิตสื่อที่หลากหลาย หรือความรู้ที่แตกต่างออกไป อันเป็นผลจากการเข้าถึงพื้นที่ข้อมูลที่ต่างจากคนรุ่นก่อน ความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ หากถูกนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ก็จะเกิดการถ่ายทอดและเกิดการเรียนรู้ใหม่ของคนในวัยต่าง ๆ ทำให้สังคมมีพลวัตและมีความยั่งยืน

Farsighted Museum: Rationales and Topics of the Conference

Being farsighted is a physical condition occurring to ones who are becoming senior. This academic conference introduces the term “farsighted” to indicate that when a society is approaching the stage where the population are in farsighted condition, namely, with respect to the aging index, becoming the aged society and super-aged society respectively, museums should adjust their lens to become longsighted museums in order to serve these senior population comprising of 20% of the entire population.

In order to comprehend museum missions on the basis of aging variation (including the healthy and active senior people, the senior with various sociocultural and economic backgrounds, the senior in their terminal lifetime with physically changed conditions) the Farsighted Museum conference focuses on providing an opportunity where academics and museum practitioners to present to the public concerning the heterogeneity of aging conditions, the execution in diverse areas, and the variation of museum practices. The issues concerning museums and aging society to be explored in the conference are as follow:

  1. Cross-cultural Understanding and Cross-paradigmatic Approach
  2. Cross-generational Understanding
  3. Creativity and Innovation
  4. Digital Technology and Other Technologies
  5. Universal Design
  6. Brain Potentials and Mental Development
  7. Sustainable Aging Happiness Conceiving
  8. Potentiality Transferring
  9. Last Wishes

The conference emphasizes a key term crucial to social sustainability: that is the “intergeneration approach.” Due to the awareness that the senior are the former arrivers and are the ones who live in a variety of social contexts, the senior’s experiences, knowledge, lessons, and hopes for the society are thus able to be transmitted toward the following generations in order to create continuity of knowledge and connectivity between social members. In the same token, the later generations have different experiences inaccessible to the former generations, like skills to digital tools, or they have different knowledge due to different information. Had these differences been brought into usage creatively, there would have emerged transmission and learning between different generations for the sake of social dynamic and sustainability.