Keynote Speakers

For english please scroll down.

องค์ปาฐก และวิทยากร

องค์ปาฐกจาก 4 ประเทศที่ล้วนเข้าสู่ประเทศสังคมสูงวัย ได้แก่

  1. Dr.Huang, Sing-Da (Head of Education Department of National Taiwan Museum) ปัจจุบันไต้หวันกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) และได้มีการเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดอย่างเป็นระบบ มีการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่มุ่งสร้าง co-learning มีการจัดเตรียมโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย พิพิธภัณฑ์มีส่วนร่วมด้วยการทำงานกับศูนย์สุขภาวะและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำ ตลอดจนทำงานกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ มีการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์ในการให้บริการผู้สูงวัยด้วย
  2. Thomas Kuan ผู้ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยแนวคิดและเครือข่ายมหาวิทยาลัยวัยที่สาม (University of the Third Age หรือ U3A) ประเทศสิงคโปร์ ในบรรดาประเทศอาเซียนนั้น สิงคโปร์และไทยเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนประเทศอื่น ๆ โดยสิงคโปร์เข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นอันดับแรกในอาเซียน สิงคโปร์มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ และด้านการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผู้สูงวัย ซึ่งมหาวิทยาลัยวัยที่สามเป็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้แก่ผู้สูงวัยที่สำคัญเครือข่ายหนึ่ง
  3. Pia Hovi อดีตภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะปอรี ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ที่มูลนิธิศิลปะอัลเบิร์ตเดอลาชาแปล ฟินแลนด์เป็นประเทศที่อัตราเร่งของประชากรผู้สูงวัยสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ในปี 2000 ฟินแลนด์มีประชากรอายุ 65 ราว 15% ของจำนวนประชากร แต่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 28% ในปี 2050 พิพิธภัณฑ์ศิลปะปอรีได้ดำเนินงานที่สำคัญหลายอย่างเพื่อผู้สูงวัย โดยเน้นการสร้างสรรค์ ศิลปะ การสัมพันธ์กับชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม
  4. คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ บริษัทชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ขับเคลื่อนแนวคิดพินัยกรรมชีวิตและสิทธิในการตาย

วิทยากร ประกอบด้วย

1) ตัวแทนโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนจากสพร.จำนวน 10 โครงการ

2) ผู้สนใจที่เสนอบทคัดย่อและผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตัดสินให้เข้าร่วมการนำเสนอ จำนวน 8 ราย

Keynotes and Speakers

  1. Dr. Huang, Sing-Da (Head of Education Department of National Taiwan Museum). Nowadays, Taiwan is becoming a super-aged society and prepared to approach the super-aged society systematically. Taiwan has created co-learning environment to provide education for senior people. Museums take part into such program by woking with health centers and visiting senior citizens with dementia and caretakers of senior people. Additionally, Taiwan founded networks of creative museums providing services to the senior.
  2. Mr. Kuan, who actively engages with the global movement of University of the Third Age (U3A), is running projects to work with senior people in Singapore. Within the ASEAN, Singapore and Thailand are becoming aging countries before the rest. Singapore is the first aging country in ASEAN. Singapore prepared physical and educational infrastructures that facilitate to accessibility. There are educational programs like the University of the Third Age serving senior people systematically.
  3. Ms. Pia Hovi. She is a former curator at Pori Art Museum, Finland. Finland’s rate of aging population growth is relatively highest in the world. In 2000, Finland has population of 65 years old and older for 15% of the entire population. The number rose to 22% in 2019 and is forecasted to be 28% in 2050. The Pori Art Museum implemented various tasks to serve senior people by emphasizing on creativity, arts, community relations, and establishing participation from different sectors of the society.
  4. Lady Chamnongsri Hanjenlak. Lady Hanjenluk is the founder of Cheevamitr Social Enterprise. She campaigns on the notion of “living will.”

Speakers and Presentations

    Thai Speaking Conference: 

    1) 10 selected researchers of the 10 action research projects (mentioned previously) funded by the NDMI.

    2) 8-10 presenters selected from the call for abstracts by the NDMI.

    3) 1 round table organized by NDMI and co-organizers. 

    English Speaking Conference:

    5 invited presenters and 1 NDMI presenter